การเที่ยวงานประเพณีท้องถิ่นในญี่ปุ่น


2019.10.04

NAVITIME TRAVEL EDITOR

การเที่ยวงานประเพณีท้องถิ่นในญี่ปุ่น

"มัตสึริ" เป็นคำรวมที่เอาไว้เรียกเทศกาลต่างๆ ที่มีจัดขึ้นตลอดปีในทุกหัวมุมเมืองของญี่ปุ่น คำว่ามัตสึริแม้จะใช้เรียกเทศกาลที่ไม่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาบ้างในบางครั้ง แต่โดยมากมักใช้กับเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับวัดและศาลเจ้าในท้องที่ มัตสึริเป็นการรวมเอาประเพณีโบราณและกิจกรรมรื่นเริงริมถนนเข้าไว้ด้วยกัน และช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสัมผัสมัตสึริก็คือฤดูร้อน เทศกาลใหญ่ๆ ในเมืองมักจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน รวมถึงเทศกาลซันจะมัตสึริของศาลเจ้าอาซาคุสะ เทศกาลซันโนมัตสึริของศาลเจ้าฮิเอะ และคันดะมัตสึริของศาลเจ้าคันดะเมียวจิน แต่นอกจากนี้ยังมีเทศกาลทั้งใหญ่เล็กอื่นๆ อีกตลอดทั้งปี สำหรับเทศกาลที่จัดในศาลเจ้าซึ่งเป็นเทศกาลประเภทที่นิยมกันที่สุดนั้น ถนนโดยรอบศาลเจ้าจะเต็มไปด้วยร้านแผงลอยขายอาหาร ซุ้มเกม และคนในท้องถิ่นที่ออกมาเดินเล่นกันในชุดญี่ปุ่นดั้งเดิม ไฮไลต์ของประเพณีศาลเจ้าคือการแห่มิโคชิ หรือศาลเจ้าขนาดย่อมนั่นเอง

  • 01

    การแห่มิโคชิ

    การแห่มิโคชิ

    การแห่มิโคชิ

    มิโคชิมีลักษณะคล้ายเกี้ยว เป็นที่ประทับของเทพเจ้า (คล้ายกับศาลพระภูมิของไทย) โดยจะมีการแห่ไปรอบๆ ในย่านนั้นๆ ก่อนจะเคลื่อนกลับไปยังศาลเจ้าที่มีการจัดมัตสึริ มิโคชิมักได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรในแบบดั้งเดิม ชาวบ้านในท้องถิ่นจะแบกมิโคชิไว้บนไหล่ โยกไปตามจังหวะกลอง พร้อมร้องตะโกนว่า "วัสโชย วัสโชย" (เหมือนที่คนไทยตะโกน ฮุยเล ฮุย) ไปด้วย บางมัตสึริมีการแห่มิโคชิไปยังริมแม่น้ำหรือริมหาดเพื่อทำพิธีฮามะโอริ ซึ่งก็คือการสาดน้ำ หรือนำมิโคชิลงไปในน้ำ

  • 02

    เดินเล่นชิมอาหารข้างทาง

    เดินเล่นชิมอาหารข้างทาง

    เดินเล่นชิมอาหารข้างทาง

    เดินเล่นชิมอาหารข้างทาง

    เดินเล่นชิมอาหารข้างทาง

    ไม่มีอะไรจะเพลิดเพลินไปกว่าการได้ดื่มเบียร์อาซาฮีสักกระป๋อง หรือเหล้าชูไฮสักถ้วยกลางถนน แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือยากิโซบะ โอโคโนมิยากิ หรือทาโกะยากิบนจานกระดาษบ้านๆ ที่ซื้อจากร้านแผงลอยในงานมัตสึริ สำหรับคนที่ชอบขนมหวานก็มีตัวเลือกให้ได้อร่อยเยอะแยะไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นกล้วยเคลือบช็อกโกแลต ขนมไทยากิ และขนมหวานเสียบไม้หลากหลายชนิด และก็เช่นเดียวกับงานวัดบ้านเรา ที่แต่ละปีจะได้เห็นขนมแคลอรี่สูงปรี๊ดหน้าตาแปลกใหม่มาให้ลองกันเรื่อยๆ บรรดาอาหารน่าทานตามมัตสึรินั้นไม่ค่อยดีต่อสุขภาพนักหรอก แต่เทศกาลแบบนี้ก็เป็นข้ออ้างที่ดีในการทำตามใจปากบ้าง ส่วนเด็กๆ ก็สนุกสนานไปกับงานมัตสึริได้ไม่แพ้กัน ตั้งแต่วิ่งเล่นเกมไปตามซุ้มต่างๆ (เช่น โยนห่วง ยิงปืน) ไปจนถึงเล่นช้อนปลาทอง มือข้างหนึ่งถือวาฟเฟิลเสียบไม้ ส่วนอีกข้างก็กวัดแกว่งปืนเด็กเล่นไปด้วยอย่างครื้นเครง

  • 03

    เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม

    เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม

    เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม

    มัตสึริถือเป็นโอกาสที่ดีในการแต่งตัวด้วยชุดญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมออกมาเดินตามถนน สำหรับวัยรุ่นหนุ่มสาวแล้ว นี่คือช่วงเวลาไม่กี่ครั้งของปีที่จะได้สวมใส่กิโมโนหรือยูคาตะ ในโตเกียวมีร้านให้เช่าชุดพวกนี้จำนวนมาก และการได้ไปเดินถนนในงานมัตสึริก็ช่วยเติมความพิเศษให้กับการเช่าชุดได้มากทีเดียว ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ แม้จะอยากถ่ายภาพผู้คนสวมกิโมโนหรือยูคาตะสวยๆ มากแค่ไหน แต่อย่าลืมขออนุญาตอย่างสุภาพก่อนด้วย

  • 04

    ร่วมเต้นบงโอโดริ

    ร่วมเต้นบงโอโดริ

    ร่วมเต้นบงโอโดริ

    โอบ้ง คือประเพณีทางพุทธศาสนาของญี่ปุ่นที่จัดในช่วงปลายฤดูร้อน (แต่ละพื้นที่จะจัดไม่ตรงกัน แต่ในโตเกียวมักจัดช่วงวันที่ 15 กรกฎาคม) กิจกรรมที่เป็นธรรมเนียมของเทศกาลโอบ้งนั้นไม่ใช่งานรื่นเริง เพราะเป็นการเคารพดวงวิญญาณบรรพบุรุษ แต่ก็มีการรวมเอางานเทศกาลบนท้องถนนเข้าไปด้วย เช่น การเต้นรำที่เรียกว่า บงโอโดริ ชาวบ้านจะแต่งตัวตามธรรมเนียมดั้งเดิมออกมาเต้นรำตามเพลงพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น (ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันอย่างมาก) ในบรรดางานมัตสึริฤดูร้อนต่างๆ นั้น งานฉลองบงโอโดริที่โด่งดังที่สุดในโตเกียวแห่งหนึ่งก็คืองานระดับยักษ์ที่ถึงกับปิดถนนหลายเส้นรอบๆ สถานีเอบิสุ โดยจะมีนักเต้นและนักดนตรีพื้นบ้านมาวาดลวดลายกันบนเวทียากุระ (เวทีหลายชั้นประดับผ้าขาวแดงสำหรับงานโอบ้ง)

  • 05

    เข้าร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์

    เข้าร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์

    เข้าร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์

    ท่ามกลางการดื่มเบียร์และทานยากิโซบะบนท้องถนน แง่มุมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของงานมัตสึริจึงมักถูกลืมไป แต่แท้จริงแล้วมัตสึริส่วนมากมีรากเหง้ามาจากเทศกาลในศาลเจ้าที่เกี่ยวข้องกับการภาวนาขอพรให้เก็บเกี่ยวหรือปลูกพืชได้ผลดี ขณะที่พระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยและงานแห่มิโคชิสิ้นสุดลง งานพิธีต่างๆ ก็จะเริ่มขึ้นในศาลเจ้าหรือวัดที่เกี่ยวข้อง วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือปฏิบัติตัวตามเจ้าบ้าน สังเกตว่าคนท้องถิ่นทำอะไรบ้าง และทำตามไปนั่นเอง

    Shuseionikai
    place
    Oita Pref. Kunisakishi Kunisakimachiwatouji
    phone
    0978725168
    ดูทั้งหมดarrow

คลิกที่นี่เพื่อดูบทความสรุปรวมทั้งบทความนี้